Last updated: 9 ก.ย. 2566 | 1112 จำนวนผู้เข้าชม |
การเลือกติดตั้งถังบำบัดน้ำเสียในอาคารที่พักอาศัยหรือสถานประกอบการ โรงงานอุตสาหกรรม เป็นสิ่งที่ผู้ใช้งานควรพิจารณาอย่างละเอียด เพราะถังบำบัดน้ำเสียมีทั้งแบบตั้งพื้น และแบบฝังดิน ซึ่งคุณสมบัติและความแตกต่างกัน มาดู 10 ข้อเปรียบเทียบระหว่างข้อดี และข้อเสียของทั้ง 2 แบบมีอะไรบ้าง
ถังบำบัดน้ำเสียแบบตั้งพื้น : การติดตั้งง่ายกว่า เพราะไม่ต้องขุดหลุมสามารถเตรียมฐานรากด้านบน ยกถังติดตั้งได้ทันที ไม่ต้องใช้เวลานาน
ถังบำบัดน้ำเสียแบบฝังดิน : มีความยุ่งยากกว่า และต้องใช้เวลาในการติดตั้งมากกว่า เพราะต้องขุดหลุมเตรียมฐานราก ต้องมีเครื่องจักรและแรงงานคนเข้ามาด้วย
ถังบำบัดน้ำเสียแบบตั้งพื้น : มีค่าใช้จ่ายน้อยกว่า ไม่สิ้นเปลืองงบประมาณเพราะช่วยลดขั้นตอนการขุดหลุม จึงทำให้ประหยัดค่าเครื่องจักร ค่าแรงงานและทำงานได้อย่างรวดเร็ว
ถังบำบัดน้ำเสียแบบฝังดิน : มีค่าใช้จ่ายในการเตรียมพื้นที่สูงกว่า เพราะต้องขุดหลุมและมีการจัดการหน้างานที่ยุ่งยากกว่ามาก รวมถึงระยะเวลาติดตั้งที่นานกว่า
ถังบำบัดน้ำเสียแบบตั้งพื้น : ต้องการพื้นที่ติดตั้งที่มากกว่า และไม่สามารถใช้สอยพื้นที่ด้านบนหรือพื้นที่รอบถังได้ ทำให้เสียพื้นที่ด้านบนในจุดติดตั้งไป
ถังบำบัดน้ำเสียแบบฝังดิน : ประหยัดพื้นที่ด้านบนได้ เพราะการวางติดตั้งแบบฝังดินสามารถปรับพื้นที่ด้านบนมาใช้ทำสิ่งอื่นได้ เช่นวางสินค้า จัดสวน หรือทำพื้นที่จอดรถได้
ถังบำบัดน้ำเสียแบบตั้งพื้น : มีความสะดวกในการดูแลรักษาที่ง่ายกว่า เพราะตรวจสอบอุปกรณ์ได้ง่าย การเช็คและการบำรุงรักษารวดเร็วมองเห็นได้
ถังบำบัดน้ำเสียแบบฝังดิน : การบำรุงรักษายากกว่า เพราะอุปกรณ์และตัวถังฝังไว้ใต้ดิน การเช็คและตรวจสอบจะทำได้ยากกว่า และมีขั้นตอนที่ยุ่งยากซับซ้อนกว่า
ถังบำบัดน้ำเสียแบบตั้งพื้น : มีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยเยอะกว่า เพราะอาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุที่ส่งผลกระทบต่อตัวถังได้ง่าย เช่น มีของแข็งไปโดนถังทำให้รั่วได้
ถังบำบัดน้ำเสียแบบฝังดิน : จะมีความปลอดภัยในการใช้งานที่ดีกว่า เพราะตัวถังถูกวางไว้ใต้ดินทำให้เกิดอุบัติเหตุ หรือมีความเสี่ยงที่น้อยกว่า แต่ก็อาจจะมีปัญหาถังแตกร้าวได้ กรณีน้ำท่วม หรือสูบน้ำเสียออกจากบ่อบำบัดจนหมด
ถังบำบัดน้ำเสียแบบตั้งพื้น : จะมีอายุการใช้งานที่น้อยกว่าแบบฝังดิน เพราะอาจจะมีเรื่องของสภาพแวดล้อมทำให้ตัวถังบำบัดสึกหรอได้ เช่น ฝนตก แสงแดด ของแข็งที่ไปกระทบ ล้วนมีผลต่ออายุการใช้งานทั้งสิ้น
ถังบำบัดน้ำเสียแบบฝังดิน : มีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า เพราะฝังไว้ใต้ดินไม่มีความเสี่ยงเรื่องสิ่งแวดล้อม ไม่มีปัญหาเรื่องการไปกระทบจึงทำให้มีความเสี่ยงน้อยกว่าและมีคงทนแข็งแรงเยอะกว่า
ถังบำบัดน้ำเสียแบบตั้งพื้น : อาจส่งผลกระทบต่อทัศนวิสัยไม่ความสวยงามจะขึ้นอยู่กับการจัดการพื้นที่โดยรอบ แต่จะทำให้มองเห็นถังบำบัดน้ำเสียชัดเจน จึงทำให้ความสวยงามลดลง เพราะไม่นิยมตั้งบนพื้นดิน
ถังบำบัดน้ำเสียแบบฝังดิน : ไม่ส่งผลกระทบต่อความสวยงามและพื้นที่โดยรอบการจัดการพื้นที่ด้านบนสวยงามกว่า เพราะถังถูกฝังลงใต้ดินสามารถจัดการพื้นที่ให้สวยงามได้ง่าย โดยไม่มีตัวถังบำบัดกีดขวาง
ถังบำบัดน้ำเสียแบบตั้งพื้น : ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมโดยรอบมากกว่า เพราะมองเห็นได้ชัดเจน. ถ้าไม่มีการจัดการพื้นที่ แบ่งโซนชัดเจน ทำรั่วกันพื้นที่จะทำให้สภาพแวดล้อมโดยรวมเสียได้
ถังบำบัดน้ำเสียแบบฝังดิน : ส่งผลกระทบต่อส่ิงแวดล้อมน้อยมาก เพราะมองไม่เห็นถูกฝังไว้ใต้ดิน จึงทำให้ภาพรวมดูดี. และมีผลกระทบต่อส่ิงแวดล้อมรอบข้างน้อยที่สุด
ถังบำบัดน้ำเสียแบบตั้งพื้น : สามารถทำได้ง่ายกว่า เพราะเราสามารถเพิ่มจำนวนถังบำบัดน้ำเสียโดยต่อเข้ากับระบบเดิมที่มีอยู่ได้ทันที ไม่ต้องขุดหลุม ไม่ต้องกังวลเรื่องพื้นที่ติดตั้งด้วย
ถังบำบัดน้ำเสียแบบฝังดิน : การเพิ่มขนาดถังบำบัดน้ำเสียจะทำได้ยากกว่า เพราะระบบถูกวางไว้ใต้ดินหมดแล้ว และต้องขุดและรื้อใหม่. หรือต้องเพิ่มจำนวนถังที่ฝังลงไปจะทำให้เสียค่าใช้จ่ายที่ตามมา
ถังบำบัดน้ำเสียแบบตั้งพื้น : สามารถเคลื่อนย้าย หรือรื้อถอน ติดตั้งใหม่ได้สะดวกกว่า กรณีต้องการย้ายการติดตั้งในที่ใหม่ หรือย้ายตำแหน่งของระบบบำบัดน้ำเสีย
ถังบำบัดน้ำเสียแบบฝังดิน : ทำได้ยากกว่า และเป็นเรื่องที่ยากมาก เพราะระบบฝังใต้ดินการรื้อ ถอน จะส่งผลทำให้ตัวถังบำบัดน้ำเสียและระบบภายในเสียหายได้
จากข้อมูลก่อนตัดสินใจเลือกถังบำบัดน้ำเสียควรเลือกให้เหมาะสมกับโรงงานอุตสาหกรรม หรือที่พักอาศัย ให้ตอบโจทย์การใช้งานของเราให้ได้มากที่สุดนะครับ
16 มิ.ย. 2565
5 ส.ค. 2567
9 มิ.ย. 2565