ถังบำบัดน้ำเสียมีกลิ่นเหม็นเกิดจากสาเหตุอะไร

Last updated: 8 ต.ค. 2567  |  4396 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ถังบำบัดน้ำเสียมีกลิ่นเหม็น

ปัญหากลิ่นเหม็น สาเหตุหลักของระบบบำบัดน้ำเสียทำงานไม่ปกติจริงหรือไม่

ทำไม?…ระบบบำบัดน้ำเสียถึงส่งกลิ่นเหม็น!!
เราควรตรวจสอบอาการเบื้องต้นมีดังนี้

• เช็คปริมาณน้ำเสียที่ใช้ต่อวัน มากเกินไปหรือเปล่า?
ควรตรวจสอบการใช้น้ำเสีย/วันของเรา ว่าเหมาะสมกับขนาดถังบำบัดน้ำเสียที่เราติดตั้งหรือไม่ เพราะถ้าหากว่าเราใช้น้ำเยอะเกินไป บ่อบำบัดน้ำเสียมีขนาดเล็ก ประสิทธิภาพการบำบัดจะลด เกิดการรับโหลดของถังเยอะเกินไป ลักษณะจะคล้ายๆ น้ำเสียไม่ได้บำบัดเลย ส่งผลให้มีกลิ่นเหม็นครับ

• เครื่องเติมอากาศไม่ทำงานปกติหรือไม่?
ปัญหาที่พบบ่อย คือเครื่องเติมอากาศหยุดทำงาน อาจจะเกิดจากการชำรุดเสียหาย ส่งผลให้ปริมาณออกซิเจนที่เติมให้จุลินทรีย์มีน้อย ทำให้ลดจำนวนลงหรือเปลี่ยนสภาพไป จึงส่งผลโดยตรงต่อระบบบำบัดน้ำเสียให้มีกลิ่นตามมา

• การติดตั้งท่อระบายอากาศอยู่ใกล้เกินไป
ตำแหน่งปลายท่อระบายอากาศ ควรติดตั้งให้สูง เพื่อการระบายอากาศเสียให้พ้นจากตำแหน่งที่เราพักควรอยู่ชิดกำแพง หรือจุดห่างไกลจากผู้คนจะช่วยลดกลิ่นเหม็นได้ หากเราเดินท่อระบายอากาศไม่ดี จะส่งผลให้กลิ่นเหม็นออกจากฝาถังบำบัด ซึ่งอยู่ที่พื้น จะทำให้กลิ่นกระจายตัวได้ดี สาเหตุที่เราไม่ควรมองข้ามนะครับ

• ห้ามดูดส้วมบ่อยเกินไป
ฟังดูแล้วขัดแย้งกันใช่ไมครับ เวลาคนทั่วไปดูดส้วมมักจะดูดจนหมดถังบำบัด ทำให้จุลลินทรีย์ถูกดูดออกไปด้วย พอไม่มีจุลินทรีย์ การบำบัดไม่เกิด ทำให้กลิ่นเหม็นตอนดูดส้วมใหม่ๆ เป็นประจำ ปัจจุบันถังบำบัดน้ำเสีย มีเทคโนโลยีในการออกแบบที่ดี ระยะเวลาในการดูดส้วมควรจะนาน 1-2 ปี/ครั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้ดูดจุลินทรีย์ไปด้วย หรือ ถ้าจะดูดบ่อยๆ ควรดูดเพียง 25% ของถังเท่านั้น ไม่ควรดูดจนหมดครับอย่างไรก็ตาม ระบบบำบัดน้ำเสีย เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องดูแลต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ดูแลสิ่งแวดล้อมให้ดีต่อโลกเราต่อไป

วิธีแก้ไขและป้องกันปัญหากลิ่นเหม็น

1.การเพิ่มประสิทธิภาพการเติมอากาศ:

  • ตรวจสอบและซ่อมบำรุงเครื่องเติมอากาศอย่างสม่ำเสมอ
  • พิจารณาเพิ่มจำนวนหรือขนาดของเครื่องเติมอากาศหากจำเป็น

2.การควบคุมค่า pH:

  • ตรวจวัดค่า pH อย่างสม่ำเสมอ
  • ใช้สารปรับ pH เพื่อรักษาระดับให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสม (โดยทั่วไปอยู่ระหว่าง 6.5-8.5)

3.การจัดการกากตะกอน:

  • กำหนดตารางการดูดตะกอนที่เหมาะสม
  • พิจารณาติดตั้งระบบกำจัดตะกอนอัตโนมัติสำหรับระบบขนาดใหญ่

4.การควบคุมอุณหภูมิ:

  • ติดตั้งระบบระบายความร้อนหรือฉนวนกันความร้อนตามความเหมาะสม
  • จัดการพื้นที่รอบระบบบำบัดให้มีการระบายอากาศที่ดี

5.การใช้สารเคมีอย่างเหมาะสม:

  • เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  • หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีที่มีฤทธิ์รุนแรงโดยไม่จำเป็น

6.การเพิ่มจุลินทรีย์:

  • ใช้ผลิตภัณฑ์เสริมจุลินทรีย์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการย่อยสลาย
  • เลือกผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับประเภทของน้ำเสียในระบบ

7.การปรับปรุงระบบระบายอากาศ:

  • ตรวจสอบและทำความสะอาดท่อระบายอากาศอย่างสม่ำเสมอ
  • พิจารณาติดตั้งระบบกำจัดกลิ่นเพิ่มเติม เช่น ถ่านกัมมันต์ หรือระบบโอโซน

8.การให้ความรู้แก่ผู้ใช้งาน:

  • จัดอบรมเกี่ยวกับการใช้งานและดูแลรักษาระบบบำบัดน้ำเสียอย่างถูกต้อง
  • สร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการไม่ทิ้งสิ่งที่ไม่ควรลงในระบบบำบัด

แอดมินพร้อมและยินดีให้คำปรึกษาฟรีครับ
หากท่านใดมีปัญหาระบบบำบัดน้ำเสีย ติดต่อมาได้เลย

บริษัท เอ็ม-เทค วอเตอร์โซลูชั่น จำกัด
096-9314999
096-7896939
034-446877

Powered by MakeWebEasy.com